แบบที่ ๓ โจ๊กพ้องคำหลัง

 

แบบที่ 3? โจ๊กพ้องคำหลัง คือ? โจ๊กปริศนาที่มีคำตอบตั้งแต่ 2 พยางค์ขึ้นไปพยางค์สุดท้ายของคำตอบจะเหมือนกันทุกคำตอบ มีการพัฒนาเป็น 6 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 ทุกคำตอบจะมีพยางค์สุดท้ายเหมือนกัน? คำตอบแต่ละคำตอบจะมีพยางค์หรือจำนวนคำไม่เท่ากัน? ไม่เล่นอักษร

ตัวอย่าง

ทวนคำตอบได้ดังนี้? มดแดง? ตาแดง? อินเดียนแดง? ผักบุ้งไฟแดง

ระยะที่ 2 ทุกคำตอบจะมีพยางค์สุดท้ายเหมือนกัน? มีพยางค์เท่ากัน? ไม่เล่นอักษร

ตัวอย่าง

ยานี 230

ทวนคำตอบได้ดังนี้? มดแดง? ตาแดง? ไฟแดง? ลงแดง

ระยะที่ 3 ทุกคำตอบจะมีพยางค์สุดท้ายเหมือนกัน? มีพยางค์เท่ากัน? มีการเล่นอักษรคือ พยางค์ต้นของทุกคำตอบจะออกเสียงพยัญชนะต้นตัวเดียวกัน

ตัวอย่าง


ทวนคำตอบได้ดังนี้? มดแดง? หมูแดง? ไม้แดง? หมากแดง

ระยะที่ 4 ทุกคำตอบมีพยางค์สุดท้ายเหมือนกัน? มีพยางค์เท่ากัน? เล่นพ้องเสียงสระในพยางค์แรก คือ พยางค์แรกของแต่ละคำตอบจะใช้ตัวอักษรไม่เหมือนกัน? แต่ผสมด้วยสระเสียงเดียวกัน

ตัวอย่าง

ยานี 413

ทวนคำตอบได้ดังนี้? คาวี? นาวี? ราวี? ยาวี

ระยะที่ 5 ทุกคำตอบจะมีพยางค์สุดท้ายเหมือนกัน? จะมีพยางค์มากกว่า 2 พยางค์มีพยางค์เท่ากันและเล่นอักษรด้วย คือ ทุกพยางค์ของทุกๆคำตอบจะใช้ตัวอักษรในแนวเดียวกัน?? จัดว่าเป็นสุดยอดของโจ๊กพ้องคำหลัง 3 พยางค์

ตัวอย่าง

กลอน 509

ทวนคำตอบได้ดังนี้? ติดกระจก? ตัดกระจก? ต้อกระจก? ตู้กระจก

ตัวอย่าง

ยานี 510

ทวนคำตอบได้ดังนี้? เล่นหูเล่นตา? หลับหูหลับตา? หลงหูหลงตา? ลับหูลับตา

ระยะที่ 6 ทุกคำตอบจะมี 4 พยางค์? พยางค์หลังสุดออกเสียงเหมือนกัน พยางค์ที่ 2และพยางค์ที่ 3 จะสัมผัสสระคล้องจองกัน ดังตัวอย่าง

กลอน 611

ทวนคำตอบได้ดังนี้? จงรักภักดี? สนใจไยดี? ต้นร้ายปลายดี? ผู้ลากมากดี

ตัวอย่าง

กลอน 3899

ทวนคำตอบได้ดังนี้? ชะม้ายชายตา? แลบลิ้นปลิ้นตา? จับยามสามตา? ฉูดฉาดบาดตา